Cart

{{ cart.length }} item | {{ total }} บาท

ส่งฟรีทุกคำสั่งซื้อ*

{{ unescapeHtml(item.product['name_' + locale]) }}
Size: {{ item.sSize.config_size.name_en }}
Price: {{ item.price }} Baht

Quantity
ยอดเงินรวม:
{{ total }} บาท

ส่งฟรีทุกคำสั่งซื้อ
(*จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)
สินค้าจะคงอยู่ในรถเข็นของคุณเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
แต่ไม่ถือว่าเป็นการจองสินค้า

TO RAISE AWARENESS AND INSPIRE FASHION INDUSTRY IN
WHAT WE CAN MAKE THE DIFFERENE TOGETHER FOR OUR PLANET

INTRODUCTION

ในปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกกว่า 51 พันล้านตันถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนับเป็น 10% ของจำนวนทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการ ปลูกฝ้าย, ปั่นด้าย, ทอผ้า, ฟอกย้อม, ตัดเย็บ, จนส่งถึงมือลูกค้า โดยในแต่ละปี ขยะสิ่งทอกว่า 92 ล้านตันจะถูกนำไปฝังกลบ หรือ เผาทำลาย เพิ่มผลกระทบที่ร้ายแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมแฟชั่นก่อให้เกิดขยะสิ่งทอจำนวนมาก อีกทั้งยังมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลในการผลิต ถือเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณน้ำสะอาดจำนวน 79 พันล้านลูกบาศก์เมตร ถูกนำไปใช้ในกระบวนการปลูกฝ้าย และ กระบวนการฟอกย้อม นับเป็นปริมาณเทียบเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิคจำนวนกว่า 32 ล้านสระ

นอกจากนั้น 15% ของมลพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำเกิดจากกระบวนการฟอกย้อมจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน และ กระบวนการปลูกฝ้ายที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมีการใช้สารเคมีจำพวก ยาฆ่าแมลง และ สารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มากจนเกินควร ทำให้สารเคมีเหล่านี้แทรกซึมลงไปที่น้ำผิวดิน และ แหล่งน้ำใต้ดินก่อให้เกิดการปนเปื้อน

WATER

อุตสาหกรรมแฟชั่นมีการใช้ทรัพยากรน้ำปริมาณมหาศาล และ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำสำหรับประชากรในหลายพื้นที่ทั่วโลก เนื่องจากตัวเลขประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น และ ความต้องการใช้น้ำปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้น

โดยในอุตสาหกรรมแฟชั่น การปลูกฝ้าย 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำสะอาดเฉลี่ยถึง 10,000 ลิตร รวมทั้งการผลิตเสื้อยืดจำนวน 1 ตัวนั้น มีความต้องการใช้น้ำมากถึง 2,700 ลิตร จากกระบวนการปลูกฝ้าย และ กระบวนการฟอกย้อม

Co2 EMISSIONS

อุตสาหกรรมแฟชั่นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับการขับรถยนต์ 372 ล้านคัน เป็นเวลาหนึ่งปี โดยการผลิตสิ่งทอ 1 กิโลกรัม มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 20 กิโลกรัม ส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกกว่า 1.2 ล้านตัน ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศในปี 2015 นับเป็นจำนวนมากกว่า อุตสาหกรรมการบิน และ อุตสาหากรรมขนส่งทางทะเล รวมกัน

FERTILIZER, PESTICIDES, AND CHEMICALS

20% ของน้ำเสียที่ถูกปล่อยสู่ธรรมชาติเกิดจากโรงงานผลิตสิ่งทอที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยสารเคมีอันตรายจากโรงงานถูกใช้ในการย้อม นอกจากนั้นการใช้ปุ๋ย และ ยาฆ่าแมลง ในการปลูกฝ้าย ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการปนเปื้อน โดยการผลิตเสื้อผ้าแบบปกติจำนวน 1 กิโลกรัม จำเป็นต้องใช้สารเคมีถึง 3 กิโลกรัม

WASTE, LANDFILLS

92 ล้านตัน คือปริมาณขยะสิ่งทอที่ถูกทิ้งในพื้นที่ฝังกลบ หรือ นำไปเผาทิ้ง ซึ่งมีไม่ถึง 15% จากปริมาณทั้งหมดที่ถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนรีไซเคิล

เส้นใยบางชนิดที่ถูกฝังกลบต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการย่อยสลาย การนำเศษผ้า และ เสื้อผ้าเก่า มารีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกทิ้งในที่ฝังกลบ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ, และ ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม

NON-RENEWABLE ENERGY

ถ่านหินเป็นหนึ่งต้นเหตุที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม การใช้ถ่านหินยังพบเห็นได้มากในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าในประเทศ จีน, บังกลาเทศ, และ อินเดีย กว่า 72% ของเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ในปัจจุบัน มีส่วนผสมของ เส้นใยสังเคราะห์ เช่น polyester, acrylic, และ nylon ซึ่งการผลิตส่วนผสมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณที่มากกว่า ส่วนผสมจากเส้นใยธรรมชาติ ตัวอย่างจากการผลิต polyester ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีการปล่อยก๊าซ CO2 ออกสู่ธรรมชาติถึง 700 ล้านตัน

เสื้อผ้า CIRCULAR ผลิตจากวัตถุดิบสิ่งทอ
ที่มาจากการ รีไซเคิล 100% และ ไม่ผ่านการฟอกย้อม


เสื้อผ้า CIRCULAR ผลิตจากวัตถุดิบสิ่งทอ ที่มาจากการรีไซเคิล 100% และ ไม่ผ่านการฟอกย้อม

CIRCULAR เลือกผลิตเสื้อผ้าจากวัตถุดิบของเสียในอุตสาหกรรมแฟชั่น เช่น เศษด้ายจากโรงงานทอผ้า, เศษผ้าจากโรงงานตัดเย็บ, รวมถึงเสื้อผ้าเก่า โดย CIRCULAR ทำการคัดแยกเฉดสีของวัตถุดิบต่าง ๆ และ แปรสภาพเป็นเสื้อผ้าชิ้นใหม่ ที่ผลิตจากสิ่งทอรีไซเคิล 100% โดยไม่ผ่านกระบวนการฟอกย้อม และ ไม่มีส่วนผสมของ Virgin fiber

การใช้วัตถุดิบสิ่งทอรีไซเคิล 100% ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำสะอาด, ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 จากการลดขั้นตอนการผลิต เช่น การปลูกฝ้ายใหม่ และ กระบวนการฟอกย้อม รวมทั้งยังมีการใช้พลังงานหมุนเวียนจาก solar rooftop เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2

สีของเสื้อผ้า CIRCULAR แต่ละตัวจะมี texture ที่เป็นเอกลักษณ์ และ ความไม่เท่ากันของสี เนื่องจากสีที่เห็นนั้น เป็นสีที่เกิดจากเสื้อผ้าเก่า หรือ ของเสียจากอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งทำให้ในแต่ละครั้ง จะมีเฉดสี และ texture ที่แตกต่างกัน ถือเป็นเสน่ห์ของผ้ารีไซเคิลจาก CIRCULAR ที่บอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันในเสื้อแต่ละตัว

ชื่อของสีต่าง ๆ ที่ CIRCULAR เลือกใช้ สื่อถึงบรรยากาศ และ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความสวยงามของธรรมชาติ และ ความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์

CIRCULAR T-Shirt Club เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการนำเสื้อยืดตัวเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว กลับเข้ามาสู่กระบวนการผลิตและรีไซเคิลอีกครั้ง พร้อมทั้งมอบส่วนลด 100 บาท ให้กับทุกๆ เสื้อเก่าหนึ่งตัวที่ส่งกลับมาให้เรา และ ใช้เป็นส่วนลดทั้งทางหน้าร้าน และ เว็บไซต์ได้ เราเชื่อว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง คลิ้กเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ CIRCULAR T-Shirt Club

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปกับเรา และ ส่งต่อโลกที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่รุ่นต่อไป

Learn more

A New Textiles Economy: Redesigning fashion’s future
A-New-Textiles-Economy_Full-Report_Updated_1-12-17.pdf

Fashion on Climate
http://www2.globalfashionagenda.com/initiatives/fashion-on-climate/#/